Plugin by Bonus Poker Codes
ประวัติการก่อตั้งโรงเรียน
สถานศึกษาอันมีชื่อว่า "บ้านสมเด็จเจ้าพระยา" เกิดจากพระราชดำริของพระสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ที่จะตั้งโรงเรียนแบบ public school อังกฤษโดยโปรดให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการเรื่องนี้ มีเจ้าพระยาภาสกรเสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นประธานที่ประชุมเห็นว่าจวนของสมเด็จเจ้าศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ซึ่งพระยาสีหราชเดโชชัย หลานปู่ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ น้อมเกล้าฯ ถวายไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2433 เป็นที่กว้างขวางใหญ่โตเห็นสมควรจัดตั้งเป็นโรงเรียน ให้ชื่อว่า "โรงเรียนราชวิทยาลัย" เปิดเรียนตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2439 แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "โรงเรียนฟากขะโน้น" หรือ "โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา" ตราของโรงเรียนเป็นรูปจุฬามงกุฏ การแต่งกายนุ่งผ้าสีครามแก่เสื้อขาว มีนายเอ ซี เป็นอาจารย์ใหญ่ ครั้นต่อมาการศึกษาขยายตัวขึ้นเป็นลำดับทำให้สถานที่คับ โรงเรียนราชวิทยาลัยจึงย้ายไปอยู่ที่ตำบลไผ่สิงโต ปทุมวัน ข้างวังสระปทุมวัน สมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ว่างลง ในขณะนั้นการศึกษาระหว่างหัวเมืองกับกรุงเทพมหาเหลื่อมล้ำกันมาก เนื่องจากคุณภาพของครูแตกต่างกันกระทรวงธรรมการจึงได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นที่จวนของสมเด็จเจ้า"โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก" สำหรับผลิตครูที่มีคุณภาพเพื่อสอนในหัวเมือง เริ่มเปิดสอนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม บำเน็จวรญาณ เป็นอาจารย์ใหญ่ การจัดการศึกษาฝึกหัดครูระยะนั้นได้ขยายตัวออกไปต่างจังหวัดมากขึ้น จึงทำให้ความจำเป็นที่จะส่งนักเรียนมาเรียน ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาลดน้อยลงทางราชการเห็นว่าการฝึกหัดอาจารย์ที่มีอยู่เดิมจะให้ได้ประโยชน์อย่างสูงควรจัด โรงเรียนประจำ จึงให้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เทพศิรินทร์ ซึ่งเป็นนักเรียนกลางวันมาอยู่ที่โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตกแล้ว เรียกชื่อใหม่ว่า "โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ฝั่งตะวันตก" เมื่อ พ.ศ.2449 ขุนวิเทศดรุณกิจเป็นอาจารย์ใหญ่ และต่อมาเป็น "โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา"
พ.ศ.2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน) แต่ยังตั้งอยู่ที่เดิมจนถึงปี พ.ศ.2458 ได้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ไปอยู่ที่วังใหม่ (กรีฑาสถานแห่งชาติในปัจจุบัน) ทำให้จวนของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ว่าง ทางราชการจึงได้ตั้งโรงเรียนมัธยมขึ้น ณ จวนสมเด็จเจ้าพระยาขึ้นใหม่ เรียกว่า "โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา" 17 พฤษภาคม 2458 รับนักเรียนประจำโดยมีโรงเรียนใกล้เคียงเข้าร่วมเป็นสาขาของสถานศึกษาแห่งนี้ ได้แก่ อนงค์ โรงเรียนสุขุมาลัย (ตั้งอยู่บริเวณวัดพิชัยญาติ) และโรงเรียนประถมวัดอนงค์ มีพระยาประมวลวิชาพูล เป็นอาจารย์ใหญ่
โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่อดีต สีประจำโรงเรียน คือ ม่วงและขาว อักษร โรงเรียนคือ บ.ส. มีคติพจน์ประจำโรงเรียนคือ "สจฺจํ เว อมตา วาจา" และตราประจำโรงเรียนคือ รูปเสมาสุริยมณฑล ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ สัญลักษณ์ที่กล่าวมานี้เป็นรากฐานสำคัญของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยามาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อ พ.ศ. 2473 ทางราชการได้สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพุทธ) และได้ตัดถนนผ่านโรงเรียนมัธยมเจ้าพระยา สถานที่นี้จึงถูกรื้อถอนไม่สามารถทำเป็นโรงเรียนได้อีกต่อไป พระยาวิเศษศุภวัตร์ ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยม บ้านสมเด็จเจ้าพระยาอยู่ในสมัยนั้นได้เจรจาผ่านกระทรวงธรรมการเพื่อขอแลกเปลี่ยนสถานที่กับโรงเรียนศึกษานารี โรงเรียนขนาดเล็กและมีนักเรียนจำนวนน้อยดังนั้นสถานที่ของโรงเรียนศึกษานารีเดิมจึงก่อสร้างเป็นโรงเรียนมัธยม เจ้าพระยาและกระทรวงพระคลังมหาสมบัติยังได้มอบที่ดินบริเวณตำบลบางไส้ไก่ และตอนใต้ของโรงเรียนศึกษานารีสร้างหอนอนและห้องเรียน และได้ย้ายนักเรียนมาอยู่ ณ ที่แห่งใหม่นี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นสถานที่ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็เจ้าพระยาในปัจจุบัน ขณะนั้นมีการศึกษาถึงชั้นมัธยมตอนปลาย (ม.7 - ม.8)
ใน พ.ศ. 2484 กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายผลิตครูมากขึ้นจึงให้เปิดสอน แผนกฝึกหัดครูอีกแผนกหนึ่ง มีชื่อ "โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา" คู่กับโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แผนกฝึกหัดครูแห่งนี้เปิดรับนักเรียนทุนของจังหวัด ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และได้เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูประถม (ป.ป.) เป็นโรงเรียน พ.ศ. 2499 ได้ยุบหลักสูตรดังกล่าวและเปิดสอนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง
พ.ศ. 2501 โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้ยกฐานะเป็น วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและโรงเรียนมัธยมศึกษาบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และเปลี่ยนเป็นโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจนถึงปัจจุบัน